โอกาสของผู้ประกอบการไทย จากการเปลี่ยนสู่พลังงานสีเขียวของกัมพูชา : การพัฒนา Solar Rooftop EP.2

รัฐบาลกัมพูชามีการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชา ตามแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ ปี 2565-2583(PowerDevelopmentMaster Plan:PDP ปี 2565-2583) โดยการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีบทบาทมากที่สุดจากทุกพลังงานหมุนเวียน ผ่านการประมูลโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์กับการไฟฟ้าแห่งกัมพูชา ซึ่งได้วางแผนโครงการโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ตามจังหวัดต่าง ๆ ไว้ต่อเนื่องจากปี 2565 จนถึงปี 2583

นอกจากนี้ ภาครัฐกัมพูชายังเล็งเห็นในการผลักดันการใช้ SolarRooftop สำหรับภาคเอกชนและภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาคประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน รวมถึงภาคเอกชนผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมใหม่ของหลายประเทศผู้นำเข้าสินค้า

บทความฉบับนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากเรื่อง “โอกาสของผู้ประกอบการไทยจากการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวของกัมพูชา: การพัฒนาโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (Episode1)” โดยจะฉายภาพให้ผู้อ่านเข้าใจการสนับสนุน Solar Rooftop ของภาครัฐกัมพูชา ทั้งการติดตั้ง ณ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชยกรรมของภาคเอกชน และบ้านเรือนของภาคประชาชาชน โดยเป็นการติดตั้งในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในธุรกิจบริการรับจ้างติดตั้งและก่อสร้าง SolarRooftopSystem พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการลงทุนที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา

Solar Rooftop มีทิศทางเป็นอย่างไรในกัมพูชา

ความพยายามในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของภาครัฐกัมพูชา เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของภาคพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศและช่วยให้กัมพูชาเดินตามเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ (NetZero) ภายในปี 2593 นำมาสู่การส่งสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในทุกภาคส่วน

โดยภาครัฐกัมพูชาได้เร่งผลักดันการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านการติดตั้ง SolarRooftopSystem ทั้งในภาคเอกชนและภาคประชาชน ซึ่งนอกจากจะช่วยยกระดับความยั่งยืนด้านพลังงานไฟฟ้าแล้วนั้น ยังเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนในกัมพูชาได้ ผ่านการออกนโยบาย “Principles for Permitting the Use of Rooftop Solar PowerinCambodia” ในปี 2566 ซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมถึงระเบียบและวิธีการขออนุญาตติดตั้ง SolarRooftopSystem ในกัมพูชา


การติดตั้ง Solar Rooftop System ในกัมพูชาสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ได้แก่

ประเภทที่ 1 การติดตั้ง SolarRooftopSystem ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติกัมพูชา(Off-gridNationalNetwork) ซึ่งจะเป็นการผลิตไฟใช้ภายในพื้นที่เท่านั้น จึงไม่สามารถขายไฟคืนให้แก่ภาครัฐได้ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลงทุนเป็นเจ้าของ Solar Rooftop System ได้ใน 2 แบบ ได้แก่

1.1 ผู้ใช้ไฟฟ้าลงทุนและเป็นเจ้าของด้วยตนเอง (DirectOwn)โดยการว่าจ้างบริษัทผู้ให้บริการปรึกษาและติดตั้งฯ ในพื้นที่ของตนทั้งการติดตั้ง SolarRooftopSystem ณ บ้านเรือน (Household) และ การติดตั้งฯ ณ โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชยกรรม (Industrial/Commercial) โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

1.2 ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นเจ้าของทางอ้อม (Indirect Own) โดยผู้ให้บริการ Solar-Corporate Power Purchasing Agreement: Solar-Corporate PPA) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายลงทุนติดตั้ง และค่าดูแลรักษาในพื้นที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า (เจ้าของพื้นที่) ซึ่งอาจเป็นบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม โดยผู้ให้บริการ Solar-CorporatePPA จะทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้าตามระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยผู้ใช้ไฟฟ้า(เจ้าของพื้นที่) จะได้รับประโยชน์จากการไม่ต้องลงทุนก่อน ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ไฟที่ไม่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในครั้งเดียว รวมถึงประโยชน์จากการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมจากไฟฟ้าพลังงานสีเขียวที่ช่วยลดค่าธรรมเนียมคาร์บอน หรือใช้เป็นคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต

ในด้านอัตราค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟที่ทำสัญญา Solar-CorporatePPA มีแนวโน้มที่จะใช้ไฟฟ้าในอัตราที่ต่ำกว่าการซื้อไฟฟ้าจากภาครัฐ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ (Industrial/Commercial) ของกัมพูชาเผชิญกับค่าไฟที่สูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียนหลายประเทศ

โดยจากรายงานของ Bloomberg NEF พบว่า ค่าไฟอุตสาหกรรมในกัมพูชาปี 2565 อยู่ที่ 0.158 เหรียญสหรัฐฯ/วัตต์ ซึ่งสูงกว่าเวียดนาม ถึง 2 เท่า โดยอยู่ที่ 0.07 เหรียญสหรัฐฯ/วัตต์ ส่วนค่าไฟเชิงพาณิชย์ในกัมพูชาปี 2565 อยู่ที่ 0.137 เหรียญสหรัฐฯ/วัตต์ ซึ่งสูงกว่าทั้งไทย เวียดนาม มาเลเซีย และลาว ซึ่งอยู่ที่ 0.1200.1170.099 และ 0.068 ตามลำดับ

ขณะที่ ค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของการทำสัญญา Solar-Corporate PPA สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1) ผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ค่าไฟฟ้าที่ทำสัญญาจะอยู่ที่ราว 0.094 เหรียญสหรัฐฯ/วัตต์ (อัตราค่าไฟรูปแบบที่ 1) และ 2)ผู้ใช้ไฟเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 0.082 เหรียญสหรัฐฯ/วัตต์ (อัตราค่าไฟรูปแบบที่ 2) โดยทั้ง 2 รูปแบบ ค่าไฟฟ้าจะต่ำกว่าทั้งอัตราค่าไฟอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ราว 40 [1]จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ผ่านการทำสัญญา Solar-Corporate PPA มากขึ้น

ประเภทที่ 2 การติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่จะเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติกัมพูชา (On-grid NationalNetwork) ซึ่งสามารถขายไฟคืนให้แก่ภาครัฐได้ โดยผู้ใช้ไฟจะต้องลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของ SolarRooftopSystem ด้วยตนเอง(DirectOwn) เท่านั้น จึงจะสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้แก่ภาครัฐได้

ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเป็นได้ทั้งภาคประชาชน และผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม (Commercial/Industrial)

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งฯ ประเภทที่ 2 มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น1) ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกคิด(ชาร์จ) ค่าธรรมเนียมอัตราค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าผันแปรจากการติดตั้งฯ ตามกำลังผลิตต่อเดือนของ Solar Rooftop System 2) ข้อห้ามในการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และ 3) ความไม่ชัดเจนในเกณฑ์และกฎระเบียบการคำนวณผลประโยชน์จากการขายไฟคืนให้แก่รัฐที่เป็นแรงจูงใจหลักของการติดตั้งฯ ทั้งผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นบ้านเรือนของประชาชนและผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์

KrungthaiCOMPASS ประเมินว่าการติดตั้งฯ ที่ไม่เชื่อมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ Off-grid (ประเภทที่ 1) จะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ให้บริการ Solar-CorporatePPAจากแรงจูงใจในการทำสัญญา Solar-CorporatePPA ของผู้ใช้ไฟฟ้า 3 ประการ ได้แก่ 1) การที่ผู้ใช้ไฟไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการลงทุนที่สูงครั้งเดียว 2) การแสดงถึงการให้ความสำคัญต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศในระยะยาวของผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ ผู้ผลิตสินค้าส่งออก และประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสีเขียวที่ช่วยลดค่าธรรมเนียมคาร์บอนหรือใช้เป็นคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต 3) อัตราค่าไฟฟ้าของการทำสัญญา Solar-CorporatePPA ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าไฟทั่วไปราว 40%[2]

นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จะสามารถการขายอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้างและติดตั้ง SolarRooftop System ได้อีกด้วย

 

ผลตอบแทนของการลงทุน Solar-Corporate PPA

KrungthaiCOMPASS ประเมินว่าหากผู้ประกอบการ Solar-CorporatePPA ไทยเข้าไปลงทุนและทำสัญญาขายไฟกับโรงงานอุตสาหกรรม (อัตราค่าไฟรูปแบบที่ 1) จะมีระยะเวลาคืนทุนราว 7.4 ปี และหากทำสัญญาขายไฟกับอาคารพาณิชย์ (อัตราค่าไฟรูปแบบที่ 2) จะมีระยะเวลาคืนทุนราว 8.5 ปี [3]โดยผลตอบแทนของผู้ประกอบการ Solar-Corporate PPA ในกัมพูชาทั้งการทำสัญญากับโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ ประเมินจากตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ บนพื้นฐานมูลค่าการลงทุน พื้นที่ติดตั้งและขนาดกำลังการผลิต SolarRooftopSystem เดียวกัน

 

การทำสัญญา Solar-CorporatePPA กับผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากรณีผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ โดยหากผู้ประกอบการไทยในธุรกิจ Solar-Corporate PPA สามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดตั้ง SolarRooftopSystem ขนาดกำลังการผลิตราว 1 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้พื้นที่บนหลังคา/สถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า ราว 7,000 ตารางเมตร หรือราว 4.4 ไร่ จะสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้า 3.43 ล้านบาท/ปี จากการขายไฟฟ้าที่ราคา 0.094 เหรียญสหรัฐฯ/กิโลวัตต์ชั่วโมงซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้ารูปแบบที่ 1 จะมีระยะเวลาคืนทุนราว 7.4 ปี เมื่อเทียบกับอายุสัญญาขายไฟฟ้าที่ 20 ปี สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (IRR) อยู่ที่ 14.94%

หากเป็นการการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์จะมีรายได้จากการขายไฟลดลง เป็นราว 3.01 ล้านบาท/ปี จากอัตราเสนอขายไฟฟ้าได้ต่ำกว่าโดยอยู่ที่ 0.082 เหรียญสหรัฐฯ/กิโลวัตต์ชั่วโมง[4] ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้ารูปแบบที่ 2 โดยอ้างอิงอัตราค่าไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เฉลี่ยในกัมพูชา ปี 2565 ซึ่งจะมีระยะเวลาคืนที่เพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี เมื่อเทียบกับอายุสัญญาขายไฟฟ้าที่ 20 ปี สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (IRR) อยู่ที่ 12.17%


สำหรับนักลงทุนSolar-Corporate PPA กลุ่มลูกค้าในกัมพูชา มีลักษณะเป็นอย่างไร

KrungthaiCOMPASS มองว่าผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารพาณิชยกรรม ในจังหวัดที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ Solar-CorporatePPA ของไทยโดยพนมเปญ พระสีหนุวิลล์ เกาะกง และบันเตียเมียนเจย เป็นจังหวัดที่รวมกลุ่มผู้ใช้ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมจะกระจุกตัวอยู่มากที่สุดในกัมพูชา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SpecialEconomicZones:SEZs) โดยภาครัฐ ได้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจฯ เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (ForeignDirectInvestment:FDI) ผ่านการอำนวยความสะดวกในโครงสร้างพื้นฐานและให้สิทธิประโยชน์ต่อการลงทุน ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่ยังพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในประเทศ หรือพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากประเทศไทยเป็นหลัก[5]

สำหรับเขตเศรษฐกิจฯ ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและมีผู้ประกอบการเช่าพื้นที่และเริ่มดำเนินการผลิตแล้วในกัมพูชากว่า 30 แห่ง[6]พบว่า โดยส่วนใหญ่เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (ForeignDirect Investment:FDI) จะเข้าไปใน 4 พื้นที่[7] ได้แก่
1. พนมเปญ ในเขตเศรษฐกิจฯ พนมเปญ (PhnomPenhSEZ)2. สีหนุวิลล์ ในเขตเศรษฐกิจฯ สีหนุวิลล์ (Sihanoukville SEZ) และเขตเศรษฐกิจฯ ท่าเรือสีหนุวิลล์ (SihanoukvillePortSEZ:SPSEZ)3. เกาะกง ในเขตเศรษฐกิจฯ เนียงกก (NeangKok SEZ)4. บันเตียเมียนเจย ในเขตเศรษฐกิจฯ ปอยเปตโอเนียง (PoipetO'NeangSEZ) และ เขตเศรษฐกิจฯ ซานโก ปอยเปต (Sanco Poipet SEZ)

 

พนมเปญ ถือเป็นจังหวัดที่โดดเด่นมากที่สุด จากทั้งหมด 4 จังหวัด เนื่องจากเป็นเมืองหลวงและเมืองเศรษฐกิจหลักของกัมพูชา มีเขตเศรษฐกิจฯ พนมเปญแบ่งพื้นที่ ๆ ถูกจัดสรรเพื่อปล่อยเช่าแก่โรงงานอุตสาหกรรมมีตั้งแต่ราว 4,400 ตารางเมตร (2.7 ไร่) ไปจนถึง 99,500 ตารางเมตร (62 ไร่) ซึ่งพื้นที่โดยเฉลี่ยของเขตเศรษฐกิจฯ พนมเปญ 3 เฟส

โดยจากรายงานประจำปี 2565 ของ ROYAL GROUP PHNOM PENH SEZ พบว่า มีนักลงทุนหลายประเทศเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจฯ พนมเปญ อาทิ นักลงทุนจีน ญี่ปุ่น อเมริกา เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 100 แห่ง จาก 20 ประเภทอุตสาหกรรม โดยโรงงานผลิตเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า (GarmentFootwearandTravel Goods: GFT) นับว่ามีโรงงานมากที่สุดในเขตเศรษกิจฯ พนมเปญและในกัมพูชา[8]นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์ ผลิตปูนซีเมนต์และปิโตรเคมี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟรายใหญ่ด้วยเช่นกัน

นอกจาก 4 จังหวัดดังกล่าว เสียมเรียบ ถือเป็นจังหวัดที่โดดเด่นอีกหนึ่งแห่ง เนื่องจากมีกลุ่มผู้ใช้ไฟรายใหญ่ที่เป็นอาคารพาณิชย์จำนวนมาก โดยเสียมเรียบถือเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจากพนมเปญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและไลฟ์ไสตล์ มีตัวอย่างอาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้ใช้รายใหญ่ อาทิ โรงแรม AngkorLakeofWonder(NagaWorldSiemReap) โรงแรมระดับลักชูรี รวมถึงมีห้างสรรพสินค้า สวนสนุกไฮเทคในร่ม บนพื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตร

 

การลงทุน Solar-Corporate PPA ในกัมพูชามีกระบวนการอย่างไร?

การติดตั้ง SolarRooftop  System ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคเอกชน ทุกโครงการในกัมพูชาจะต้องผ่านการอนุมัติโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งกัมพูชา (ElectricityAuthorityofCambodia:EAC) ซึ่งสำหรับการขออนุญาตติดตั้งฯ ของธุรกิจ Solar-CorporatePPA เพื่อผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ของผู้ใช้ไฟนั้น ผู้ใช้ไฟและผู้ประกอบการ Solar-CorporatePPA ต้องร่วมกันศึกษาพื้นที่และประเมินโครงการก่อนส่งใบสมัคร

โดยผู้ประกอบการ Solar-CorporatePPA ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งกัมพูชา (EAC) ซึ่งใบอนุญาตจะครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดสอบการดำเนินงาน บำรุงรักษาและการรื้อถอนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงธุรกิจ Solar-Corporate PPA ในกัมพูชา ซึ่งจะเป็นการลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop System ในพื้นที่ของผู้ใช้ไฟ (เจ้าของพื้นที่) และทำสัญญา ซื้อขายไฟ (PPA) ระหว่างกัน


ความท้าทายในการเข้าสู่ธุรกิจ Solar-Corporate PPA ในกัมพูชา

นอกจากการเตรียมตัวด้านกฎเกณฑ์แล้วนั้น ยังมีความท้าทายที่ควรติดตาม ก่อนการเข้าทำธุรกิจ Solar-Corporate ในกัมพูชา[9]  มีดังนี้

1) ความไม่แน่นอนของเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวกับ Solar Rooftop System เนื่องจากยังมีกฎเกณฑ์และระเบียบการติดตั้ง SolarRooftop System อีกหลายด้านมากที่ต้องการความชัดเจนในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อความต้องการติดตั้งฯ และการทำสัญญา Solar-Corporate PPA

2) หากในอนาคตอุปทานพลังงานไฟฟ้าของกัมพูชาเพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งกัมพูชา (EAC)  มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการขายไฟของธุรกิจ Solar-CorporatePPAโดยอัตราค่าไฟของโครงการ Solar-CorporatePPA อิงกับอัตราค่าไฟที่กำหนดโดย EAC ซึ่งคาดว่าอัตราค่าไฟที่ต่ำกว่าอัตราค่าไฟฟ้าที่กำหนดโดย EAC ราว 40%

3) สถานะทางการเงินของผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นเอกชน ซึ่งอาจกระทบต่อรายได้ธุรกิจ Solar-Corporate PPAหากผู้ใช้ไฟซึ่งเป็นลูกค้าผู้ทำสัญญาประสบปัญหาทางด้านการเงินจนไม่สามารถชำระค่าไฟฟ้าที่ตามที่ตกลงกัน อาจจะเกิดการสูญเสียรายได้จากการขายไฟในระยะเวลาที่เหลือของสัญญา Solar- Corporate PPA


Summary & Recommendation

ผู้ประกอบการ Solar-CorporatePPA ของไทย ที่มีความพร้อมและสนใจลงทุนในกัมพูชาควรเตรียมพร้อมด้วยการขอใบอนุญาตประกอบการกิจการที่จะสามารถทำธุรกิจให้ปรึกษา/ติดตั้ง SolarRooftopSystem รวมถึงธุรกิจ Solar-CorporatePPA ในกัมพูชา ซึ่งจะเป็นการลงทุนติดตั้ง SolarRooftopSystem ในพื้นที่ของผู้ใช้ไฟ (เจ้าของพื้นที่) และทำสัญญา ซื้อขายไฟ (PPA) ระหว่างกัน โดยกลุ่มลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้า  ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษและอาคารพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ในพื้นที่หัวเมืองหลักและเมืองท่องเที่ยวสำคัญของกัมพูชา เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ ที่มีในด้านชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังรวมถึง การพิจารณานำเอาระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BatteryEnergyStorageSystem:BESS) มาใช้กับธุรกิจ Solar-CorporatePPA ในกัมพูชา เนื่องจากจะช่วยกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้ในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น เพื่อใช้ในภายหลังได้ แม้จะเพิ่มต้นทุนในการติดตั้ง แต่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการติดตั้ง Solar Rooftop System มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ควรติดตามก่อนเข้าไปทำธุรกิจ Solar-CorporatePPA ในกัมพูชา ได้แก่ 1) กฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวกับ SolarRooftopSystem 2) การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งกัมพูชา (EAC) ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้จากการขายไฟของธุรกิจ Solar-CorporatePPA และ 3) สถานะทางการเงินของลูกค้าผู้ใช้ไฟเอกชน

 



[1]Thai Solar Energy

[2]Thai Solar Energy

[3]อัตราค่าไฟรูปแบบที่ 1 อ้างอิงอัตราค่าไฟอุตสาหกรรมเฉลี่ยในกัมพูชา ปี 2565 และอัตราค่าไฟรูปแบบที่ 2 อ้างอิงอัตราค่าไฟเชิงพาณิชยเฉลี่ยในกัมพูชา ปี 2565 (ที่มา: BloombergNEF)

[4] อัตราค่าไฟรูปแบบที่ 1 (อัตราค่าไฟฟ้าอุตสาหกรรมเฉลี่ยของกัมพูชา) เท่ากับ 3.4 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง และอัตราค่าไฟรูปแบบที่ 2 (อัตราค่าไฟฟ้าพาณิชย์เฉลี่ยของกัมพูชา) เท่ากับ 3.0 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน 36.61 บาทต่อดอลลาร์ (24 มิถุนายน 2567) (ที่มา: BloombergNEF)

[5] EuroCham Cambodia

[6] EuroCham Cambodia และรวบรวมโดย Krungthai COMPASS

[7] กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และรวบรวมโดย Krungthai COMPASS

[8] Textile Apparel Footwear and Travel Goods Association in Cambodia: TAFTAC

[9]GIZ, Khmer Times, Thai Solar Energy และรวบรวมโดย Krungthai COMPASS

Visitors: 7,908,833