โครงการข้าวยั่งยืนขนาดใหญ่ในประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับรายได้ของเกษตรกรรายย่อย ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม

5 กันยายน 2565 - โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (Market Oriented Smallholder Value Chain หรือ MSVC) หนึ่งในโครงการข้าวยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้เข้าสู่การดำเนินงานในช่วงสุดท้ายและสามารถช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยจำนวน 19,000 รายให้สามารถมีรายได้สุทธิจากการทำนาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการเกษตรได้ถึงร้อยละ 21 โครงการนี้ได้รับการยอมรับด้านความยั่งยืนสูงสุด โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาโครงการ MSVC ยังได้รับการยอมรับจากการการตรวจประเมินผ่านมาตรฐาน Farm Sustainability Assessment (FSA) ระดับ FSA Gold ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของ Sustainable Agriculture Initiative (SAI) อีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นของโครงการในปีพ.ศ. 2559 ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 77 ราย โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาที่ยังขาดแคลนทรัพยากรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสุรินทร์ รวมถึงเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวคุณภาพสูงจากภาคอีสานของไทย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 20 หรือจำนวนกว่า 3,000 ราย ทั้งยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรหญิงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด นอกจากนี้ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 21 รวมทั้งลดการปนเปื้อนของสารตกค้างจากการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำได้ร้อยละ 14 อีกด้วย

พอล นิโคลสัน รองประธานฝ่ายวิจัยและความยั่งยืน แผนกข้าว บริษัท โอแลม อะกริ กล่าวว่า เกษตรกรรายย่อยถือเป็นเสาหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ แต่ยังมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากที่นับว่าเป็นกลุ่มเปราะบางในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นเราจึงทำงานร่วมกับ GIZ และกรมการข้าวของไทยอย่างแข็งขัน เพื่อให้เกษตรกรเหล่านี้มีชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้ห่วงโซ่อุปทานข้าวมีความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของเราในการปฏิรูปการเกษตรเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น”

เราเชื่อในความสำคัญของการเชื่อมโยงตลาดกับเกษตรกรและสนับสนุนนโยบายตลาดนำการผลิตอย่างเต็มกำลัง ผ่านการเสริมสร้างศักยภาพในหมู่เกษตรกรและจัดระบบวิธีปลูกข้าวอย่างยั่งยืน การดำเนินโครงการ MSVC ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาช่วยให้เกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดและเข้าถึงห่วงโซ่คุณค่าของเกษตรกรรายย่อยที่มุ่งเน้นตลาดอย่างยั่งยืนดร.อรรถวิชช์ วัชรพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย ประจำ GIZ กล่าวเสริม

ด้วยการสนับสนุนของโครงการ MVSC ทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกอาหารในยุโรป สหรัฐอเมริกา และทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้าวที่เพาะปลูกด้วยวิธีที่ยั่งยืนมากกว่า 50,000 ตัน และได้รับสินค้าที่ผลิตด้วยระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารสูงสุดระดับสากล รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังชุมชนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในประเทศไทย

 

โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (Market Oriented Smallholder Value Chain หรือ MSVC) เป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ภายใต้กรอบของโครงการ develoPPP ของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMZ) ประกอบด้วยหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) บริษัท โอแลม อะกริ (Olam Agri) และกรมการข้าวไทย

 

การพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรไทยเป็นเป้าหมายสูงสุดของกรมการข้าวไทย โครงการ MSVC ได้ดำเนินการร่วมกันผ่านความร่วมมือขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) บริษัท โอแลม อะกริ และองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อแนะนำมาตรฐานการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Rice Platform (SRP)Standard รวมไปถึงวิธีการปลูกข้าวที่ยั่งยืนให้แก่ชาวนา กรมการข้าวไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะส่งเสริมให้เกิดการทำนาอย่างยั่งยืนและสามารถยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวนาไทยได้ผ่านโครงการนี้ ขอขอบคุณผู้ดำเนินโครงการและชาวนาทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและมีส่วนในการสนับสนุนการปลูกข้าวของไทย ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย อดีตอธิบดีกรมการข้าวและดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอธิบดีกรมการข้าว กล่าวเสริม

Visitors: 7,258,439