แชร์

กรุงไทย กำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวน 11,714 ล้านบาท เติบโตอย่างมีคุณภาพ สะท้อน S&P Global เพิ่มเรตติ้งเป็น BBB ดูแลคุณภาพสินทรัพย์ มุ่งช่วยลูกค้าแก้หนี้และปรับตัวอย่างยั่งยืน

อัพเดทล่าสุด: 19 เม.ย. 2025
86 ผู้เข้าชม

ธนาคารกรุงไทย เติบโตตามยุทธศาสตร์อย่างยั่งยืน มีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวน 11,714 ล้านบาท จัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวัง รักษาระดับ Coverage Ratio ในระดับสูง รองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ เดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ และปรับตัวเดินหน้าต่อได้อย่างยั่งยืน โดย S&P Global Ratings ปรับเพิ่มเครดิตเรตติ้งเป็น BBB สะท้อนสถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้นและการบริหารจัดการอย่างรอบคอบ

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 มีความท้าทายรอบด้านที่รุนแรงขึ้นมาก โดยเฉพาะสงครามการค้าระลอกใหม่ที่ยกระดับขึ้น หลังสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศคู่ค้าทั่วโลกรวมทั้งไทย กระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออก และได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสินค้าจีนที่จะทะลักเข้ามาตีตลาดไทยมากขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาเชิงโครงสร้าง หนี้ครัวเรือนและเศรษฐกิจนอกระบบที่อยู่ในระดับสูง ธุรกิจ SME มีข้อจำกัดในการปรับตัว รวมถึงผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยว ยังคงเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งมีแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ ทั้งมาตรการลดค่าครองชีพ และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคที่จะมีเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า

ธนาคารดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังและรอบคอบ เตรียมพร้อมรับมือความไม่แน่นอน โดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มให้สามารถปรับตัวเดินหน้าต่อ และสร้างโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ พร้อมสนับสนุนนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างเร่งด่วน เพิ่มเติมจากมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ผ่านโครงการ คุณสู้ เราช่วย โครงการ สินเชื่อรวมหนี้ข้าราชการยั่งยืน สินเชื่อกรุงไทยรวมหนี้ (ภาคประชาชน) และ สินเชื่อกรุงไทยบ้านแลกเงิน ที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ลดภาระทางการเงิน เสริมสภาพคล่องการทำธุรกิจและเพิ่มความคล่องตัวในการดำรงชีพ ตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1/2568 ธนาคารดำเนินการตามยุทธศาสตร์ มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน บริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวัง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รักษา Coverage Ratio ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 187.7 เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 11,714 ล้านบาท

เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 25671/ กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเติบโตขึ้นเล็กน้อย จากการขยายตัวของรายได้ผลิตภัณฑ์บริหารความเสี่ยงทางการเงิน การลงทุน และกำไรจากเงินลงทุน ขณะเดียวกัน ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 40.4 ธนาคารมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสมและพอเพียง ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน โดยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ดีที่ 95,017 ล้านบาท และมี NPL Ratio 2.97 ลดลง

จากร้อยละ 2.99 จากสิ้นปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการ Portfolio ได้อย่างสมดุลท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวน

เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/25671/ กำไรส่วนที่เป็นของธนาคารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รายได้ขยายตัวจากผลิตภัณฑ์บริหารความเสี่ยงทางการเงิน การลงทุน และกำไรจากเงินลงทุนซึ่งสะท้อนสภาวะตลาด โดยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลง ร้อยละ 6.5 จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพและบางส่วนจากการลดลงของค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ธนาคาร (งบการเงินเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 18.17 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง และมีเงินกองทุนทั้งสิ้น ร้อยละ 21.14 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตาม ความเสี่ยงซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงมีสภาพคล่องในระดับที่เพียงพอโดยรักษาระดับของ Liquidity Coverage ratio (LCR) อย่างต่อเนื่อง สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนด

ในวันที่ 19 มีนาคม 2568 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global Ratings ได้ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อระดับสากลของธนาคารทั้งระยะยาว / ระยะสั้น เป็น BBB/ A-2 จาก BBB- / A-3 โดยพิจารณาถึงความสามารถในการทำกำไร (profitability) ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบริหารคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวัง และสถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง

ในปี 2568 ธนาคารมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กร ภายใต้แนวคิด Corporate Value Creation เสริมทักษะ สร้างคุณค่า สู่อนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์หลัก ที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน บริหารจัดการความเสี่ยงจากคุณภาพสินเชื่อ เพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของพนักงานซึ่งเป็นหัวใจขององค์กร ประกอบด้วย การสร้าง Value ใน 5 ระบบนิเวศที่มุ่งเน้นได้อย่างเต็มศักยภาพ ต่อยอดแพลตฟอร์มเดิมและการเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ที่จะสร้างการเติบโตในอนาคต การยกระดับวิธีการเข้าถึงและการบริการลูกค้า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอทีและเทคโนโลยีแห่งอนาคต และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เพื่อสร้างรูปแบบใหม่ในการทำงาน ให้มีความพร้อมตอบโจทย์ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน รวมทั้งการมีผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต


บทความที่เกี่ยวข้อง
เป๊ปซี่® จับมือ S2O สาดความมันส์ซ่าชุ่มฉ่ำแบบรักษ์โลก ชวนเหล่า Gen Z สนุกอย่างรับผิดชอบ  ร่วมคัดแยกขยะผ่านแคมเปญ มันส์ แล้ว ทิ้ง
18 เมษายน 2568 เครื่องดื่มเป๊ปซี่® โดย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสานต่อแคมเปญรักษ์โลก Waste Nothing - มันส์ แล้ว ทิ้ง โดยล่าสุดร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท เอสทูโอ แฟคทอรี่ จำกัด ชวนเหล่า Gen Z บิ๊กแฟนอีดีเอ็ม
18 เม.ย. 2025
กรุงศรีเผยผลกำไรสุทธิไตรมาสแรกปี 2568 จำนวน 7.53 พันล้านบาท เน้นการเติบโตสินเชื่อที่มีคุณภาพ พร้อมบริหารต้นทุนเสริมประสิทธิภาพเต็มกำลัง
กรุงเทพฯ (18 เมษายน 2568) กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2568 มีกำไรสุทธิจำนวน 7,533 ล้านบาท เติบโต 20.0% จากไตรมาสที่สี่ของปี 2567
19 เม.ย. 2025
กลุ่มบริษัทเคทีซีแกร่ง กำไรโตต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์พอร์ตคุณภาพ
คทีซีนำกลุ่มบริษัทฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ เผยไตรมาส 1/2568 ทำกำไรสุทธิ 1,861 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวอยู่ที่ 107,093 ล้านบาท ควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี
19 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy