วิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค จ.อุบลราชธานี ต้นแบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ชู ‘มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์’ สร้างรายได้ดี
อัพเดทล่าสุด: 29 ม.ค. 2025
153 ผู้เข้าชม
นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้เกษตรกร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีคุณภาพได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับชุมชน ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับสากล โดย ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน สร้างรายได้และความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกร
สศท.11 ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2561โดยมี นายสามัคคี นิคมรักษ์ เป็นประธานวิสาหกิจฯ มีสมาชิกเกษตรกร 15 ราย พื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์รวม 66 ไร่
เฉลี่ย 4 - 5 ไร่/ครัวเรือน โดยสมาชิกในกลุ่มจะดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ของตนเองและมีการบริหารจัดการรวมกัน ซึ่งสมาชิกทุกรายผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ PGS จากมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย และจากสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี สำหรับเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานที่สมาชิกแต่ละครัวเรือนเพาะปลูก ได้แก่ มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ผักทานใบ ผักสลัด กล้วย มะม่วง และข้าว ซึ่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นจุดเด่นและสร้างรายได้ดี คือ มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ เกษตรกรนิยมปลูก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์คิงส์ฟิชเชอร์ (Kingfisher) ผลสุกมีสีแดง ทรงผลรี เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวาน สายพันธุ์เรดไดมอนด์ (Red Diamond) ผลสุกมีสีแดง ทรงผลกลมกว่าสายพันธุ์แรก เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวานอมเปรี้ยว และสายพันธุ์อมาริสสา (Amarissa) ผลสุกมีสีส้ม มีกลิ่นคล้ายส้มแมนดาริน เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวาน ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
ด้านสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปี 2567 พบว่า มีเกษตรกรในกลุ่มที่ดำเนินการปลูก จำนวน 6 ราย (เฉลี่ยพื้นที่ปลูก 120 ตารางเมตร/ครัวเรือน) และบางส่วนอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนกันยายน เดือนตุลาคม หลังจากผลผลิตมีอายุประมาณ 70 วัน เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวซึ่งจะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน เดือนมีนาคมของปีถัดไป เกษตรกรได้ผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์รวมประมาณ 1.7 - 2 ตัน หรือได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อครัวเรือน 310 กิโลกรัม/120 ตารางเมตร/ปี โดยผลผลิตจะเน้นขายสดเป็นหลัก สำหรับราคาจำหน่ายอยู่ที่ 300 บาท/กิโลกรัม และแบบแพคกล่องขนาด 300 กรัม ราคา 100 บาท/กล่อง ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 60 สมาชิกจำหน่ายผ่านทาง Facebook ของตนเองและของกลุ่มศรีไคออร์แกนิค และผลผลิตอีกร้อยละ 40 สมาชิกจะนำมารวมกันเพื่อไปจำหน่ายที่ตลาดเขียว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ จากกระบวนการผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถสร้างรายได้ อยู่ที่ 560,000 - 660,000 บาท/ปี หรือ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนจะอยู่ที่ 80,000 - 100,000 บาท/ครัวเรือน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม ได้มีการบริหารจัดการในแต่ละด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการผลิต สมาชิกได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปีละ 2 ครั้ง จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงการอัพเดทความรู้และสถานการณ์ต่าง ๆ อาทิ โรคและแมลงศัตรูพืช จากกลุ่มไลน์วิสาหกิจฯ ด้านราคา จะกำหนดราคาเดียวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและเสถียรภาพด้านราคา ด้านการจำหน่าย มีการวางแผนการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดร่วมกันเพื่อรักษาตลาดหลักของวิสาหกิจฯ ในส่วนของแนวทางการขับเคลื่อนกลุ่มในระยะต่อไป จะยังคงพัฒนาคุณภาพผลผลิตและรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงขยายฐานการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และบูรณาการร่วมกับวิสาหกิจอื่น ในการผลิตวัสดุปลูก น้ำหมัก และวัสดุอื่น ๆ เพื่อความคล่องตัวในกระบวนการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค สามารถสอบถามได้ที่ คุณสามัคคี นิคมรักษ์ ประธานวิสาหกิจฯ โทร. 08 3380 4223 หรือ Facebook : ศรีไคออร์แกนิค หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 อุบลราชธานี โทร. 0 4534 4654 หรืออีเมล zone11@oae.go.th
สศท.11 ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2561โดยมี นายสามัคคี นิคมรักษ์ เป็นประธานวิสาหกิจฯ มีสมาชิกเกษตรกร 15 ราย พื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์รวม 66 ไร่
เฉลี่ย 4 - 5 ไร่/ครัวเรือน โดยสมาชิกในกลุ่มจะดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ของตนเองและมีการบริหารจัดการรวมกัน ซึ่งสมาชิกทุกรายผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ PGS จากมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย และจากสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี สำหรับเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานที่สมาชิกแต่ละครัวเรือนเพาะปลูก ได้แก่ มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ผักทานใบ ผักสลัด กล้วย มะม่วง และข้าว ซึ่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นจุดเด่นและสร้างรายได้ดี คือ มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ เกษตรกรนิยมปลูก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์คิงส์ฟิชเชอร์ (Kingfisher) ผลสุกมีสีแดง ทรงผลรี เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวาน สายพันธุ์เรดไดมอนด์ (Red Diamond) ผลสุกมีสีแดง ทรงผลกลมกว่าสายพันธุ์แรก เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวานอมเปรี้ยว และสายพันธุ์อมาริสสา (Amarissa) ผลสุกมีสีส้ม มีกลิ่นคล้ายส้มแมนดาริน เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวาน ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
ด้านสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปี 2567 พบว่า มีเกษตรกรในกลุ่มที่ดำเนินการปลูก จำนวน 6 ราย (เฉลี่ยพื้นที่ปลูก 120 ตารางเมตร/ครัวเรือน) และบางส่วนอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนกันยายน เดือนตุลาคม หลังจากผลผลิตมีอายุประมาณ 70 วัน เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวซึ่งจะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน เดือนมีนาคมของปีถัดไป เกษตรกรได้ผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์รวมประมาณ 1.7 - 2 ตัน หรือได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อครัวเรือน 310 กิโลกรัม/120 ตารางเมตร/ปี โดยผลผลิตจะเน้นขายสดเป็นหลัก สำหรับราคาจำหน่ายอยู่ที่ 300 บาท/กิโลกรัม และแบบแพคกล่องขนาด 300 กรัม ราคา 100 บาท/กล่อง ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 60 สมาชิกจำหน่ายผ่านทาง Facebook ของตนเองและของกลุ่มศรีไคออร์แกนิค และผลผลิตอีกร้อยละ 40 สมาชิกจะนำมารวมกันเพื่อไปจำหน่ายที่ตลาดเขียว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ จากกระบวนการผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถสร้างรายได้ อยู่ที่ 560,000 - 660,000 บาท/ปี หรือ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนจะอยู่ที่ 80,000 - 100,000 บาท/ครัวเรือน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม ได้มีการบริหารจัดการในแต่ละด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการผลิต สมาชิกได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปีละ 2 ครั้ง จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงการอัพเดทความรู้และสถานการณ์ต่าง ๆ อาทิ โรคและแมลงศัตรูพืช จากกลุ่มไลน์วิสาหกิจฯ ด้านราคา จะกำหนดราคาเดียวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและเสถียรภาพด้านราคา ด้านการจำหน่าย มีการวางแผนการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดร่วมกันเพื่อรักษาตลาดหลักของวิสาหกิจฯ ในส่วนของแนวทางการขับเคลื่อนกลุ่มในระยะต่อไป จะยังคงพัฒนาคุณภาพผลผลิตและรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงขยายฐานการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และบูรณาการร่วมกับวิสาหกิจอื่น ในการผลิตวัสดุปลูก น้ำหมัก และวัสดุอื่น ๆ เพื่อความคล่องตัวในกระบวนการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค สามารถสอบถามได้ที่ คุณสามัคคี นิคมรักษ์ ประธานวิสาหกิจฯ โทร. 08 3380 4223 หรือ Facebook : ศรีไคออร์แกนิค หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 อุบลราชธานี โทร. 0 4534 4654 หรืออีเมล zone11@oae.go.th
บทความที่เกี่ยวข้อง
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รักคือพลังของชีวิต โดยคุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO) เผยว่าในปี 2568
22 ก.พ. 2025
บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดงาน MITTARE AWARDS 2024 พิธีประกาศและมอบรางวัลคุณวุฒิประจำปี 2567 ให้แก่ตัวแทนที่มีผลงานดีเด่นและยอดเยี่ยมประจำปี 2567
22 ก.พ. 2025
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) รับรางวัล “Best SME CSR Initiatives Bank-Thailand 2024”
22 ก.พ. 2025