เอบีม คอนซัลติ้ง เผยกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ผลิตท่ามกลางความเสี่ยงระดับโลก
เอบีม คอนซัลติ้ง เผยผลสำรวจในหัวข้อ "Survey on Procurement and Supply Chain Risk Management in Japanese Assembly Manufacturing Industries Five Barriers Identified from a Survey of 108 Companies and Pathways to Breaking Through Them," ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสในการจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่น รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการบริหารจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ท่ามกลางความซับซ้อนของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติและความผันผวนทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
แม้ว่าความจำเป็นในการปรับตัวจะเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ผู้ผลิตในญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการยกระดับศักยภาพด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Management (SCM) จากการสำรวจบริษัท 82 แห่งในญี่ปุ่น และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ผลิต 26 รายจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
เอบีม คอนซัลติ้ง พบว่าบริษัทญี่ปุ่นมีอัตราการฟื้นตัวของสินค้าคงคลังหลังวิกฤตที่ช้ากว่าประเทศอื่น ๆ อย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทานของประเทศ
จากผลสำรวจของเอบีม คอนซัลติ้ง ระบุว่า 20% ของบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจสูญเสียกำไรไปมากกว่า 20% เนื่องจากปัญหาการหยุดชะงักในการจัดซื้อ และ 40% ของบริษัทไม่สามารถประเมินผลกระทบของการหยุดชะงักต่อการดำเนินงานได้อย่างครบถ้วน บริษัทที่มีความก้าวหน้าในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM) สามารถฟื้นตัวจากความล่าช้าในระบบห่วงโซ่อุปทานได้รวดเร็วกว่าเมื่อเที่ยบกับบริษัทที่ยังอยู่ในขั้นระยะเริ่มต้นของการพัฒนาความสามารถด้านนี้
เอบีม คอนซัลติ้ง ได้ระบุถึงอุปสรรค 5 ประการที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่:
1. บทบาทและความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจนในด้านการจัดซื้อและการบริหารสินค้าคงคลัง
2. การพึ่งพาการดำเนินงานที่ขาดมาตรฐาน
3. การขาดการพัฒนาทักษะและศักยภาพบุคลากรในด้าน SCM
4. ระบบและข้อมูลห่วงโซ่อุปทานที่ไม่เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การลงทุนในระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ต่อเนื่องในช่วงเวลาที่สถานการณ์ปกติ
สำหรับผู้นำองค์กร ผลการสำรวจชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการมีบทบาทเชิงรุก โดยผู้นำองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและแนวทางเพื่อสร้างระบบ SCM ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดบทบาทในองค์กรให้ชัดเจน การส่งเสริมกระบวนการที่มีมาตรฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมทั้งการลงทุนในระบบข้อมูลแบบรวมศูนย์เพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำในช่วงวิกฤต ซึ่งจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับห่วงโซ่อุปทานได้ ในประเทศไทย ความยืดหยุ่นและการทำงานร่วมกันเป็นจุดแข็งสำคัญ มาตรการเหล่านี้สอดคล้องกับความสำคัญของการสร้างระบบที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประโยชน์ให้กับระบบนิเวศขององค์กรโดยรวม อุตสาหกรรมการผลิตของไทยจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบดิจิทัลที่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทยที่อุตสาหกรรมการผลิตกำลังเผชิญความท้าทายจากความไม่แน่นอนระดับโลกและการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ การมีกลยุทธ์ SCM ที่คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ บริษัทในประเทศไทยเป็นที่รู้จักในด้านความยืดหยุ่นและการทำงานร่วมกัน หากสามารถนำคำแนะนำเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบดิจิทัลที่เชื่อมโยงกัน จะช่วยลดความเสี่ยงเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องมอง SCM ให้เป็นทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในแนวหน้า ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือเบื้องหลัง ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างแผนก การเตรียมความพร้อมในช่วงที่สถานการณ์ปกติ และการนำดิจิทัล โซลูชันเข้ามาปรับใช้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง และสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน
การนำมาตรการเหล่านี้ไปปรับใช้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ตอบสนองต่อความเสี่ยง ลดผลกระทบต่อการดำเนินงานและการเงิน เพิ่มความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เอบีม คอนซัลติ้ง เชื่อมั่นว่ากลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความสามารถในการฟื้นตัวให้กับอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในญี่ปุ่นและไทย เพื่อผลักดันการเติบโตที่ยั่งยืนในตลาดที่มีความผันผวน
เอบีม คอนซัลติ้ง เราใช้ความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ในฐานะผู้นำด้าน SAP โซลูชันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยสนับสนุนองค์กรในการเปลี่ยนแปลงระบบห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย เรามุ่งเน้นการออกแบบโซลูชันที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับความต้องการของแต่ละธุรกิจ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและดำเนินงานได้อย่างมั่นคงในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เอบีม คอนซัลติ้ง ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ ผ่านบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การประเมิน ออกแบบ ดำเนินการ ไปจนถึงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
สามารถดูกรณีศึกษาความสำเร็จของ SCM กับ เอบีม คอนซัลติ้ง ได้ที่นี่:https://www.abeam.com/th/en/service/scm/